วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่15 วันที่14/02/57

   ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันมาฆบูชา**

ครั้งที่14 วันที่7/02/57

 ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์พาพี่ปี ไปทำกิจกรรมอาสาที่จังหวัด สุราษฏร์ธานี **

ครั้งที่13 วันที่31/01/57

  - ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากติดกิจกรรมเข้าค่ายนันทนาการที่ จังหวัด สระบุรี 

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ( LD )
          1. การดูแลให้ความช่วยเหลือ
          2. สร้างความภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
          3. มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
          4. ให้การเสริมแรงบวก
          5. รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
          6. วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก

การรักษาด้วยยา  

          Ritalin / Dexedrine /Cylert

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication : AAC )

          - การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
          - โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System : ( PECS ) )
          - เครื่องโอภา ( Communication Devies )
          - โปรแกรมปราศรัย

หน่วยงานทีให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

          - สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ)
          - โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
          - ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention : EI)
          - สถาบันราชานุกูล

ครั้งที่12 วันที่24/01/57

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



Down’s syndrome
      - รักษาตามอาการ
      - แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
      - ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวันได้ อยู่ร่วมในสังคมได้ ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
      - เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach )

ดูแลรักษา 4 ด้าน
 1.ด้านสุขภาพอนามัย
         - บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรก ติดตามรักษาเป็นระยะๆ
 2.ส่งเสริมพัฒนาการ
         - กลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
 3.การดํารงชีวิตประจําวัน
         - ฝึกช่วยเหลือตนเองได้
 4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
         - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบําบัด กิจกรรมบําบัด
         - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
         - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดํารงชีวิตประจําวัน
         - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
         - ยอมรับความจริง
         - เด็กกลุ่มดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
         - ให้ความรักความอบอุ่น
         - การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งมดปากมดลูก และเต้านม
         - การปฏิบัติของบิดา มารดา
         - การคุมกําเนิดและการทำหมัน
         - การสอนเพศศึกษา
         - ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
         - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสต์และภาษา
         - สามารถปรับตัวละช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
         - สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
         - ลดปัญหาพฤติกรรม
         - คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic
        ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
               - ครอบครัวมีบทบาทสําคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติกส่งเสริมความสามารถเด็ก
               - ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
               - การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย

การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
         - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         - การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
         - โดยเฉพาะในรายที่มีการพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
         - ถ้าเด็กพูดเร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงกับปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
         - ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
         - ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
         - การสื่อสารความหมายทดแทน

การส่งเสริมพัฒนาการ
          1.ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
          2. เน้นในเรื่องการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคําสั่ง
          3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
         o เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
         o แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
         o โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  
          ทักษะการใช้ชีวิตประจําวัน และการฝึกฝนทักษะทางสังคมให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
          1) Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
          2) Risperidone /Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ พฤติกรรมก้าวร้าว
          3) ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเอง

การบําบัดทางเลือก
          - การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
          - ศิลปกรรมบําบัด (Art Therapy)
          - ดนตรีบําบัด (Music Therapy )
          - การฝังเข็ม (Acupuncture)
          - การบําบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

พ่อ แม่
          - ลูกต้องพัฒนาได้
          - รักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
          - ถ้าไม่รัก แล้วใครจะรัก
          - หยุดไม่ได้
          - ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
          - ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
          - ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557